เปิดการแข่งขันสุดยอดนัก Robot เยาวชน ในเวที KidBright OnStage Hackathon 2022

เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการ เนคเทค สวทช. เปิดการแข่งขัน KidBright OnStage Hackathon 2022 

พร้อมประกาศผลงานสุดยอดนัก Robot ได้รับเกียรติจาก คุณกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร รองผู้อำนวยเนคเทค สวทช. ดร.ศรเทพ วรรณรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ผศ.ดร.อรพดี จูฉิม ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการเรียนรู้ตลอดชีวิต (FIBO) มอบรางวัลการสนับสนุนงบประมาณทีมละ 20,000 บาท ผลงานผ่านการคัดเลือก ได้แก่

สายน้ำบันเทิง รี่นเริงวันลอยกระทง (The Delightful River of Loy Krathong Festival) จากโรงเรียนชัยนาทพิทยาคม จังหวัดชัยนาท
หนุ่มสาวอีสานสิขออาสาพาม่วนเด้อจ้า (E-san music let’s fun together) จากโรงเรียน อนุกูลนารี จังหวัดกาฬสินธุ์
โอ้การละเล๊น จากโรงเรียนธัญรัตน์ จังหวัดปทุมธานี
นกแก้วมหัศจรรย์ (MAGIC PAROT) จากโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

นักวิจัยเนคเทคและหน่วยงานพันธมิตรพร้อมร่วมเป็นพี่เลี้ยงเสริมทักษะการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ที่เหมาะสมให้ทั้ง 4 ทีม เพื่อไปต่อในเวทีการคัดเลือกของคณะกรรมการ RoboCup Junior committee และเป็นตัวแทนทีมประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก RoboCup 2022 Bangkok บนเวที RoboCup Junior 2022 ที่จะจัดขึ้นในประเทศไทยในฐานะเป็นเจ้าภาพ ช่วงเดือน กรกฎาคม 2565 ที่จะถึงนี้

การประกวด KidBright Onstage Hackathon 2022 เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้น เสริมทักษะด้านหุ่นยนต์และเทคโนโลยีร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ ให้กับเยาวชนไทยอายุ 14-19 ปี เพื่อเตรียมความพร้อมอย่างเข้มข้นกว่า 2 เดือน ผ่านการอบรม Online มุ่งเน้นการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ และการทำงานร่วมกันเป็นทีมแบบ Community KidBright Junior มีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา จาก 6 หน่วยงาน ร่วมบูรณาการและพัฒนาหลักสูตรที่เรียกว่า “KidBright Onstage ในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่

📍 นพ.ภาณุทัต เตชะเสน ชมรม เมคเกอร์ คลับ เชียงใหม่ ให้ความรู้ด้าน Creative Computing

📍 คุณปริญญา ผ่องสุภา FabLab บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร เสริมทักษะการพัฒนาผลงาน 2มิติ และ 3 มิติ

📍คุณสิบแสน สุขสุชะโน บริษัท แอบซ์แทรค วิงซ์ จำกัด ให้ความรู้ การออกแบบเทคโนโลยี VR ผ่าน Unity Sensor/Actuator

📍ส่วนด้านความรู้ด้าน Design Robotics / AR Inspiration. ได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO)

📍รวมถึง ความรู้ด้านทักษะการแสดง จาก ศิลปะการละคร โดยคุณพชร อาชาศรัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

📍การใช้งาน KidBright AIBot ร่วมกับ I/O และบอร์ด KidBright / Automation by KidBright /ออกแบบระบบ AIด้วย KidBright AI Platform โดยทีมวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (เนคเทค สวทช)

การแข่งขันในครั้งนี้ มีผู้สมัครทุกภาคทั่วประเทศ 222 คน มีผลงานที่ได้รับคัดเลือก 20 ทีม จากภาคเหนือ 7 ทีม ภาคใต้ 3 ทีม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ทีม ภาคกลาง 8 ทีม 125 คน มีอาจารย์ที่ปรึกษา 26 คน นักเรียน 99 คน