เปิดรับสมัครการประกวดแข่งขัน KidBright Forecasting with GLOBE Hackathon Online

หลักการและเหตุผล

KidBright ร่วมกับ GLOBE Thailand ในการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ควบคู่กับการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และตระหนักรู้ในบริบทของโลกและทรัพยากรธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต จึงได้ร่วมมือกันดำเนินโครงการความร่วมมือ Data Science @ School with GLOBE เพื่อส่งเสริมครูและนักเรียนในการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ผ่านการลงมือตรวจวัดสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนผ่านการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมตามหลักวิธีดำเนินการของ GLOBE และส่งเสริมการทำงานวิจัยระดับนักเรียน ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาสมรรถนะหลักที่สำคัญของนักเรียน มีการเรียนรู้ และเกิดความตระหนักถึงสภาพและปัญหาสิ่งแวดล้อม และร่วมกันรับผิดชอบ ในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของโลก  ที่จะร่วมมือ ป้องกัน แก้ไข และดูแลรักษาทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผ่านกิจกรรมการประกวดแข่งขัน KidBright Forecasting with GLOBE

การประกวดแข่งขัน KidBright Forecasting with GLOBE เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรวิทยาการข้อมูลที่ KidBright ได้ร่วมกับ สสวท.ทำคู่มือสื่อการเรียนการสอน เพื่อสอนการ วิเคราะห์ข้อมูล และใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิทัลเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มทักษะชีวิตประจำวันซึ่งเป็นกระบวนการของเด็กในศตวรรษที่ 21

วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม

เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจและได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ ดังนี้เข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการวิทยาการข้อมูล

  • เก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูล PLAYGROUND เพื่อสำรวจสภาพอากาศในท้องถิ่นตนเอง
  • การจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการประมวลผล
  • การวิเคราะห์ข้อมูลสภาพอากาศและทำข้อมูลให้เป็นภาพ
  • การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ข้อมูลในชีวิตประจำวัน
  • การนำเสนอสารสนเทศด้วยแผนภูมิ

เงื่อนไขการรับสมัคร

  • ทีมที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ครู/อาจารย์ที่ปรึกษา 1 ท่าน และนักเรียน 2 ท่าน
  • นักเรียนผู้ร่วมทีมต้องศึกษาอยู่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • แต่ละโรงเรียน สามารถสมัครเข้าร่วมได้มากกว่า 1 ทีม
  • ทีมที่สมัครเข้าร่วมและผ่านการคัดเลือกต้องสามารถเข้าร่วมกิจกรรมและเข้าร่วมการแข่งขันในวัน และเวลาที่กำหนดได้

รายละเอียดการคัดเลือก รอบที่ 1 (คัดเลือกจากใบสมัคร) จากคำถามที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดกิจกรรม

  • นำเสนอแนวคิดได้อย่างสร้างสรรค์
  • สามารถอธิบายโดยอ้างอิงหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้
  • ยกตัวอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ชีวิตประจำวันได้

รายละเอียดการคัดเลือก รอบที่ 2 (รอบชิงชนะเลิศ)

ข้อกำหนด

  • ทีมที่ผ่านการคัดเลือกต้องเข้าร่วมการอบรม ที่ทางโครงการกำหนดทุกหลักสูตร (รูปแบบ Online)
  • ทีมที่ผ่านการคัดเลือกต้องเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในวัน และเวลาที่กำหนด (รูปแบบ Online)
  • ทีมที่ได้รับรางวัลต้องเข้าร่วมแข่งขัน GLOBE Inter (ทางโครงการจะเป็นผู้คัดเลือกจากทีมที่ชนะการประกวด)

โจทย์การแข่งขัน

ออกแบบและสร้าง Dashboard และ Mood board โดยคำนึงถึงสภาพอากาศที่เหมาะสม ต่อหัวข้อที่กำหนด โดยทางโครงการฯ จะมีหัวข้อให้เลือกในวันแข่งขัน

เงื่อนไขการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ (Hackathon)

  • การจัดประกวดแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ จัดขึ้นในรูปแบบ Online
  • ทุกทีมเลือกโจทย์ที่ใช้สำหรับการแข่งขันในวันแข่งขัน
  • ทุกทีมมีเวลา 24 ชั่วโมง ในการพัฒนา
  • สร้าง Dashboard ในส่วนของการพยากรณ์สภาพอากาศที่เหมาะสมกับโจทย์ที่ได้รับในวันแข่ง โดยใช้ข้อมูลที่ทางโครงการเตรียมไว้
  • สร้าง Mood board ตามโจทย์ที่ได้รับในวันแข่ง เพื่อนำเสนอรายละเอียดตามหัวข้อที่กำหนด

แผนการดำเนินงาน

ผู้ประสานงานโครงการ

นางสาวจันทกร แจ้งชัด
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ศอ.)
งานพัฒนากำลังคนด้านอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศ (HRDS)
โทร. 02 564 6900 ต่อ 2324
e-mail jantakorn.jan@nectec.or.th