Do School จัดการประกวดโครงงานภายใต้โจทย์การแข่งขัน “สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ หรือสิ่งมีชีวิตบ่งชี้คุณภาพน้ำ”

ด้วยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีโครงการในการส่งเสริมการใช้สื่อการเรียนการสอนในกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งดำเนินการสืบเนื่องจากโครงการ 2 โครงการ คือ FabLab และ การจัดประกวด KidBright: Coding at School for Teacher “KruKid Contest” โดยเนคเทค ได้สนับสนุนเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้ให้แก่โรงเรียน อาทิเช่น บอร์ดสมองกลฝังตัวคิดไบร์ท กล้องจุลทรรศน์โรโบคิด (มิวอาย) และเครื่องวัดสี (เคมคิดผ่านคิดไบร์ท)เพื่อเป็นแนวทางของการจัดการเรียนการสอนแบบการคิดเชิงระบบ การคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงสร้างสรรค์

จากจุดเริ่มต้นดังกล่าว ทางโครงการฯ มีความตั้งใจจะส่งเสริมให้เกิดการใช้เครื่องมือดังกล่าว ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะการลงมือปฏิบัติแก่นักเรียน รวมทั้งกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้ของนักเรียน ผ่านการจัดกิจกรรมประกวดโครงงานสำรวจโรงเรียน “Do School” ภายใต้โจทย์การแข่งขัน “สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ หรือสิ่งมีชีวิตบ่งชี้คุณภาพน้ำ” เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจวิทยาศาสตร์ผ่านการลงมือทำมากขึ้น ผนวกการเรียนรู้การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงวิเคราะห์และการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ ผ่านการเรียนรู้แบบ learn and play สามารถนำเครื่องมือไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่โรงเรียนและชุมชน และเป็นตัวช่วยให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีในการก้าวเข้าสู่สายอาชีพทางวิทยาศาสตร์ต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์

  1. ส่งเสริมการใช้เครื่องมือสื่อการเรียนการสอน บอร์ดสมองกลฝังตัวคิดไบร์ท กล้องจุลทรรศน์มิวอาย  โรโบคิด และเครื่องวัดสี (เคมคิดผ่านคิดไบร์ท)ในโรงเรียนให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน
  2. เพื่อสำรวจคุณภาพและทดสอบ เครื่องมือสื่อการเรียนการสอน กล้องจุลทรรศน์โรโบคิด (มิวอาย) เครื่องวัดสี (เคมคิดผ่านคิดไบร์ท) ที่ได้ส่งมอบให้โรงเรียนนำร่อง ในกลุ่ม 100 Krukid และโรงเรียนในกลุ่ม FabLab
  3. การพัฒนาคู่มือการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยเครื่องมือสื่อการเรียนการสอน บอร์ดสมองกลฝังตัวคิดไบร์ท กล้องจุลทรรศน์โรโบคิด (มิวอาย) และเครื่องวัดสี (เคมคิดผ่านคิดไบร์ท)เป็นการบูรณาการ

คุณสมบัติผู้เข้าร่วม

  1. เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในโรงเรียนตามกลุ่มเป้าหมาย ของโครงการฯ 
  2. มีอาจารย์ และผู้อำนวยการโรงเรียน ให้การรับรองว่าเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนนั้นๆ จริง
  3. มีความความสนใจในการเข้าร่วมโครงการฯ และมีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามกำหนดการของโครงการฯ ได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการฯ

ข้อกำหนดในการสมัครเข้าร่วม

  1. รับสมัครเป็นทีม ทีมละ 4 ท่าน/ทีม (นักเรียน 3 ท่าน และครู อาจารย์/บุคลากรด้านการศึกษา 1 ท่าน)
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ต้องส่ง Concept Proposal 2 หน้ากระดาษ A4 เกี่ยวกับหัวข้อการประกวดโครงงาน
  3. กรอกใบสมัคร พร้อมส่งหัวข้อโครงงาน ภายในวัน และเวลาที่ทางโครงการฯ กำหนด
  4. ผู้ผ่านเข้ารอบ 20 ทีม ต้องใช้อุปกรณ์หลักที่ทางโครงการฯ กำหนดไว้ดังนี้

    4.1 กล้องจุลทรรศน์โรโบคิด (มิวอาย)

    4.2 เครื่องวัดสี (เคมคิดผ่านคิดไบร์ท)

    4.3 บอร์ดสมองกลฝังตัวคิดไบร์ท

เตรียมข้อมูลหัวข้อการประกวด และเริ่มกิจกรรมการสำรวจ จากนั้นบันทึกผลข้อมูลลงบนแบบฟอร์ม “บันทึกปฏิบัติการทดลอง (ดาวน์โหลดแบบบันทึกปฏิบัติการทดลอง) ” และจัดทำวีดีโอนำเสนอโครงงานส่งมาประกวด (วีดีโอทั้งหมดจะได้รับการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์เนคเทค และสื่อออนไลน์ของเนคเทคและทีมผู้จัดงาน)

โจทย์การสมัครเข้าร่วม

หัวข้อ “สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ หรือสิ่งมีชีวิตบ่งชี้คุณภาพน้ำ” โดยสามารถสำรวจสภาพแวดล้อมในโรงเรียนหรือพื้นที่ชุมชนใกล้เคียง เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ให้กับชุมชน

การสนับสนุนอุปกรณ์เสริมสำหรับผู้เข้ารอบ

ผู้เข้ารอบ 20 ทีม ทางโครงการฯ สนับสนุนชุดทดสอบทางเคมี (Test Kit) ที่ใช้ ได้แก่ ชุดทดสอบคลอรีน (Aqua_VBC) และชุดทดสอบพีเอช (Para Test) และอุปกรณ์เสริมสำหรับเก็บตัวอย่าง 

สิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ

ผู้เข้ารอบทั้ง 20 ทีม จะได้รับประกาศนียบัตรประจำโครงการฯ

เงินรางวัลสำหรับผู้ชนะการประกวด

ทีมที่มีคะแนนรวมสูงสุด 3 อันดับแรก จะได้รับรางวัล ดังต่อไปนี้

     อันดับแรก        จำนวน        20,000  บาท

     อันดับที่สอง      จำนวน        15,000   บาท  

     อันดับที่สาม      จำนวน        10,000   บาท

เกณฑ์การตัดสิน

ผลการพิจารณาวิดีโอและใบงาน (บันทึกปฏิบัติการทดลอง) มาจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน สวทช. และผู้เชี่ยวชาญภายนอก 90% และอีก 10 % เป็นการโหวตจาก Publish (ระยะเวลาการโหวต 2 สัปดาห์) เกณฑ์การตัดสินมีดังนี้ 

หมายเหตุ คณะกรรมการและผู้เชี่ยวชาญ อาจลงพื้นที่สุ่มตรวจโครงงานที่เข้ารอบ (ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการ)

กำหนดการของโครงการ

ผู้ดำเนินโครงการ

ทีมวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ (PHT)

กลุ่มวิจัยอุปกรณ์สเปกโทรสโกปีและเซนเซอร์ (SSDRG)

งานพัฒนากาลังคนด้านอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศ (HRDS)

ฝ่ายบริหารโครงสร้างพื้นฐาน (IMD)

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ผู้ประสานงานโครงการ

นางสาวจันทกร แจ้งชัด (นักวิชาการ)

โทร. 02-564-6900 ต่อ 2324 

E-mail: Jantakorn.jan@nectec.or.th